วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554



ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต ประวัติอินเตอร์เน็ต

 ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต ประวัติอินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาด ใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

ที่มา

อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน

การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต

การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำได้หลากหลาย อาทิเช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail) , สนทนา (Chat), อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด, การติดตามข่าวสาร, การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล, การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์ , การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ, การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์, การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์, การเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning), การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference), โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP), การอับโหลดข้อมูล หรือ อื่นๆ
แนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ตคือการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างสังคมออนไลน์ (Social Network) ซึ่งพบว่าปัจจุบันเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น facebook, twitter, hi5 และการใช้เริ่มมีการแพร่ขยายเข้าไปสู่การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) มากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันสนับสนุนให้การเข้าถึงเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือ ถือทำได้ง่ายขึ้นมาก

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก

ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 1.733 พันล้านคน หรือ 25.6 % ของประชากรทั่วโลก (ข้อมูล ณ เดือน กันยายน 2552) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่างๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ เอเชีย โดยคิดเป็น 42.6 % ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด และประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 360 ล้านคน
หากเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกับจำนวนประชากรรวม พบว่าทวีปอเมริกาเหนือมีสัดส่วนผู้ใช้ต่อประชากรสูงที่สุดคือ 74.2 % รองลงมาได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย 60.4 % และ ทวีปยุโรป คิดเป็น 52.0 % ตามลำดับ

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"
การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน) ... ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2551 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.99 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 28.2 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 10.96 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.2

อินเทอร์เน็ตแบนด์วิท

ปัจจุบัน (มกราคม 2553) ประเทศไทยมีความกว้างช่องสัญญาณ (Internet Bandwidth) ภายในประเทศ 110 Gbps และระหว่างประเทศ 110 Gbps
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


อินเตอร์เน็ตทำงานอย่างไร?
รู้จักกับ TCP/IP 

     
โปรโตคอล TCP/IP หรือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol เป็นระเบียบวิธีการ สื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กันมาแต่เดิมในระบบปฏิบัติการ Unix ซึ่งมีการใช้งานอย่าง กว้างขวางมาก จนถือเป็นมาตรฐานได้ จุดกำเนิดของโปรโตคอล TCP/IP นี้เริ่มขึ้นในราว พ.ศ. 2512 ที่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐ เมื่อพบปัญหาในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานต่างๆ ของตน ซึ่งจะต้องมีการส่งข้อมูลระหว่างกัน และไปยังหน่วยงานภายนอกอื่นๆ เช่น มหาวิทยาลัย ห้องทดลองต่างๆ (ส่วนใหญ่มีเครื่องที่ใช้ระบบ Unix อยู่เป็นจำนวนมาก) เนื่องจากแต่ละแห่ง ก็จะมีระบบคอมพิวเตอร์ของตนเองที่แตกต่างกันไป การต่อเชื่อมกันก็เป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำไม เหมือนกัน ดังนั้นข่าวสารข้อมูลทั้งหลาย จึงถ่ายเทไปมาได้อย่างยากลำบากมาก กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้ จัดตั้งหน่วยงาน Advanced Research Projects Agencies (ARPA) ขึ้นมา เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ผลลัพธ์ที่หน่วยงาน ARPA ได้จัดทำขึ้นคือ การกำหนดมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลและได้จัดตั้งเครือข่าย ARPANET ขึ้นโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP ต่อมาก็กลายมาเป็นมาตรฐานจริงจัง ในราวปี พ.ศ. 2525 ความสัมพันธ์ระหว่าง TCP/IP กับระบบปฏิบัติการ Unix เกิดขึ้น เนื่องจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่เบอร์คเลย ์ ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Unix ซึ่งมีการผนวกเข้ากับโปรโตคอล TCP/IP สำหรับใช้ในการสื่อสารระหว่างระบบ ออกมา และเผยแพร่ต่อไปยังหน่วยงานต่างๆ ทำให้การสื่อสารกันของเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Unix มักจะต้อง ใช้โปรโตคอล TCP/IP เสมอ และมีบทบาทเป็นสิ่งที่คู่กันต่อมาถึงปัจจุบัน ในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ของผู้ใช้จะเป็นแบบใดก็ตาม เช่น พีซีหรือแมคอินทอช ก็สามารถใช้งานโปรโตคอล TCP/IP เพื่อต่อเชื่อมเข้าส ู่อินเตอร์เน็ตได้ วิธีการก็คือเพียงแต่ติดตั้งใช้งานซอฟต์แวร์โปรโตคอล TCP/IP เท่านั้น ส่วนวิธีการ และโปรแกรม ที่ติดตั้ง จะแตกต่างกันขึ้นกับระบบที่ใช้ ซึ่งจะกล่าวต่อไป หมายเลข IP (IP Address) การสื่อสารกันในระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ตที่มีโปรโตคอล TCP/IP เป็นมาตรฐานนี้ เครื่องอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่ จะต้องมีหมายเลขประ จำตัวเอาไว้อ้างอิง ให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทราบเหมือนกับคนทุกคนต้องมีชื่อให้คนอื่นเรียก หมายเลขอ้างอิงดังกล่าวเราเรียกว่า IP Address หรือหมายเลข IP หรือบางทีก็เรียกว่า "แอดเดรส IP" (IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง) ซึ่งถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบ ก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ตั้งแต่ 0 จนถึง 28 -1 = 255 เท่านั้น เช่น 192.10.1.101 เป็นต้น ตัวเลข IP Address ชุดนี้จะเป็นสิ่งที่สำคัญคล้ายเบอร์โทรศัพท์ที่เรามีใช้อยู่และไม่ซ้ำกัน เพราะสามารถกำหนดเป็นตัวเลขได้รวมทั้งสิ้นกว่า 4 พันล้านเลขหมาย แต่การกำหนด ใ ห้คอมพิวเตอร์มีเลขหมาย IP Address นี้ไม่ได้เริ่มต้นจากหมายเลข 1 และนับขึ้นไปเรื่อยๆ หากแต่จะมีการจัด แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นหมายเลขของเครือข่าย (Network Number) ส่วนที่สองเรียกว่าหมายเลขของ คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายนั้น (Host Number) เพราะในเครือข่ายใดๆ อาจจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออยู่ ได้มากมาย ในเครือข่ายที่อยู่คนละระบบ อาจมีหมายเลข Host ซ้ำกันก็ได้ แต่เมื่อรวมกับหมายเลข Network แล้ว จะได้เป็น IP Address ที่ไม่ซ้ำกันเลย ในการจัดตั้งหรือกำหนดหมายเลข IP Address นี้ก็มีวิธีการกำหนดที่ชัดเจน และมีกฎเกณฑ์ที่รัดกุม ผู้ใช้ที่อยากจัดตั้งโฮสต์คอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เน็ต และให้บริการต่างๆ สามารถขอหมายเลข IP Address ได้ที่หน่วยงาน Internet Network Information Center (InterNIC) ขององค์กร Network Solution Incorporated (NSI) ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา แต่ถ้าผู้ใช้สมัครเข้าเป็นสมาชิกขอ ใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากบริษัทผู้ให้บริการ (Internet Service Provider) เรียกย่อๆ ว่าหน่วยงาน ISPรายใดก็แล้วแต่ ก็ไม่ต้องติดต่อขอ IP Address เนื่องจากหน่วยงาน ISP เหล่านั้นจะกำหนดหมายเลข IP ให้ใช้ หรือส่งค่า IP ชั่วคราวให้ใช้งาน
ใครเป็นเจ้าของ อินเตอร์เน็ต 
     
ในปัจจุบันหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับควบคุมดูแลทิศทางของอินเทอเน็ตโดยรวมคือ "สมาคมอินเทอเน็ต" (Internet Society) ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยทั้งผู้ใช้และผู้ให้บริการทั่วไป รวมกันเป็นกลุ่มย่อยๆภายใน สมาคมอีกทีหนึ่ง ในบรรดากลุ่มย่อยเหล่านี้ หลุ่มย่อยอันหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญคือ Internet Architecture Board หรือ IAB ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2526 เพื่อสนับสนุนงานวิจัยต่างๆเกี่ยวกับอินเทอเน็ตและในปัจจุบันเป็นผู้วาง มาตรฐานการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย ทำหน้าที่ค้นคว้า วิจัยสิ่งใหม่ เพื่อรองรับอินเทอเน็ตในอนาคต

บริการต่างๆ ในอินเตอร์เน็ต 
     
ตามที่ได้อธิบายไปแล้วว่าเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือเครือข่ายของเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลกในแต่ละ เครือข่ายก็จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือ โฮสต ์ (Host) เชื่อมต่ออยู่เป็นจำนวนมาก ระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะให้บริการต่างๆ แล้วแต่ลักษณะและจุดประสงค์ท ี่เจ้าของเครือข่ายนั้นหรือเจ้าของระบบคอมพิวเตอร์นั้นตั้งขึ้น ในอดีตมักมีเฉพาะบริการเรื่องข้อมูลข่าวสารและ โปรแกรม ที่ใช้ในแวดวงการศึกษาวิจัยเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันก็ได้ขยายเข้าสู่เรื่องของการค้าและธุรกิจแทบ จะทุกด้าน บริการต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

บริการด้านการสื่อสาร 
เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อรับส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันได้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวด เร็วกว่าการติดต่อแบบธรรมดาและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างถูกกว่ามาก
1.
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับ-ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ E-mail กับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกกว่า 20 ล้านคน ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีก และบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้ก็รวดเร็วทันใจและสะดวกมาก โดย E-mail จะมีหลักการทำงานดังนี้
 • POP3 (Post Office Protocol) ซึ่งในปัจจุบันเป็น protocol มาตรฐานที่ใช้สำหรับรับ-ส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิก ในปัจจุบันนี้
 • SMTP (Simple Mail Transfer Protocol)
 • IMAP (Internet Message Access Protocol)
 • MIME (Multipurpose Internet Mail Extension)
2.
สนทนาแบบออนลายน์ (Chat)
ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่นๆ ในอินเตอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน (โดยการพิมพ์เข้าไปทางคีย์บอร์ด) เสมือนกับการคุยกันแต่ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของทั้งสองที่ ซึ่งก็สนุกและรวดเร็วดี บริการสนทนาแบบออนลายน ์นี้เรียกว่า Talk เนื่องจากใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า Talk ติดต่อกัน หรือจะคุยกันเป็นกลุ่มหลายๆ คนในลักษณะของการ Chat (ชื่อเต็มๆ ว่า Internet Relay Chat หรือ IRC ก็ได้) ซึ่งในปัจจุบันก็ได้พัฒนาไปถึงขั้นที่สามารถใช้ภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหวหรือการ์ตูนต่างๆ แทนตัวคนที่สนทนากันได้แล้ว และยังสามารถคุยกันด้วยเสียงในแบบเดียวกับ โทรศัพท์ ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลบนจอภาพหรือในเครื่องของผู้สนทนาแต่ละฝ่ายได้อีกด้วยโดย การทำงาน แบบนี้ก็จะอาศัย Protocol ช่วยในการติดต่ออีก Protocol นึงซึ่งมีชื่อว่า IRC(Internet Relay Chat) ซึ่งก็เป็น protocol อีกชนิดหนึ่งบนเครือข่ายอินเทอเน็ตที่สามารถทำให้ User หลายคนเข้ามาคุยพร้อมกันได้ผ่านตัวหนังสือแบบ Real time โดยจะมีหลักการคือ
 • มีเครื่อง Server ซึ่งจะเรียกว่าเป็น IRC server ก็ได้ซึ่ง server นี้ก็จะหมายถึงฮาร์ดแวร์+ซอฟแวร์โดยที่ฮาร์ดแวร ์คือคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นจะต้องมีทรัพยากรระบบค่อนข้างสูงและจะต้องมีมากกว่า 1 เครื่องเพื่อลองรับ User หลายคน
 • เครื่องของเราจะทำหน้ามี่เป็นเครื่อง Client ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ที่ เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอเน็ตได้แบบธรรมดาโดย ที่ไม่ต้องารทรัพยากรมากนัก และก็ต้องมีโปรแกรมสำหรับเชื่อมต่อเข้า Irc server ได้
บริการด้านข้อมูลต่างๆ
ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหรือหัวข้อใดๆ ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจาก ในอินเตอร์เน็ตมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ หรือผู้ที่เป็นเจ้าของขอมูลนั้นๆเก็บข้อมูลเพื่อ เผยแพร่เอาไว้มากมาย ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการศึกษาค้นคว้าและเตรียมข้อมูลลงได้มาก และเปรียบเสมือน มีห้องสมุดขนาดยักษ์ให้ใช้งานได้ทันที
1. FTP (File Transfer Protocol)
FTP
ย่อมาจาก File Transfer Protocol เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ คำสั่งนี้ม ีใช้งานอยู่ในเครือข่ายของ TCP/IP ทั่วไป และเมื่อมีการให้บริการในลักษณะของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเกิดขึ้น การให้บริการ FTP จึงกลายมาเป็นบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตไปด้วย โดยผู้ให้บริการจะจัดเตรียมเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่จะให้บริการ FTP หรือเรียกว่า FTP Server ซึ่งบรรจุไฟล์ข้อมูลต่างๆ ไว้ ผู้ใช้ที่อยู่ทั่วทุกมุมโลก จะสามารถใช้คำสั่ง FTP ผ่านอินเตอร์เน็ตเข้ามายังเซิฟเวอร์เหล่านี้เพื่อทำการโอนหรือคัดลอกไฟล์ข้อมูลเหล่าน ี้ไป (เหตุที่ใช้คำว่า "คัดลอก" ก็เพราะในทางปฏิบัติจริงๆ แล้วไฟล์ต้นทางก็ยังอยู่อย่างเดิม ในขณะที่ทางเครื่อง ของเราซึ่งเป็นปลายทางจะได้ข้อมูลที่เหมือนกับต้นทางขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง แต่การทำงานของ FTP จะต่างจากการ คัดลอกหรือ copy ไฟล์ทั่วๆ ไปบนระบบเครือข่ายก็คือ การทำ FTP จะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและรัดกุมกว่า เหมาะ กับระบบเครือข่ายที่ต่อกันในระยะไกลๆ เช่น ผ่านสายโทรศัพท์หรือระบบโทรคมนาคมอื่นๆ ซึ่งมีโอกาสเกิดความ ผิดพลาดต่างๆ ได้มากกว่าในเครือข่ายที่เป็น LAN) โดยทั่วไปไฟล์ที่เก็บอยู่บน Host ที่เชื่อมกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะแบ่งเป็นหลายประเภท ได้แก่ Freeware, Shareware และ Commercialware
2. World Wide Web (WWW
หรือ Web หรือ W3) เครือข่ายใยแมงมุม
เมื่อสักประมาณ 4 ปีที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญกล่าวกันว่า ประมาณการคร่าวๆ ว่ามีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตอยู่ประมาณ 25 ล้านคน มีเพียง 2 ล้านคนเท่านั้น ที่ใช้เวิร์ล-ไวด์-เวบ ประมาณการอันนี ้ดูจะถูกลบล้างโดยสิ้นเชิง จากการบันทึก จำนวนครั้ง (hit) ที่มีผู้เข้าใช้เวบไซท์ของ Netscape ผู้เป็นเจ้าพ่อของโปรแกรมอ่านเวบเพจ เพราะในช่วงประมาณต้น ปีที่ผ่านไปนี้ มีผู้เข้าใช้มากถึง 35 พันล้านครั้งต่อหนึ่งวัน และจากสถติที่มีผู้รวบรวมไว้ แม่ข่ายบริการเวบเพจ หรือท ี่เรียกว่าเวบไซท์นั้น มีมากถึง 10 ล้านแห่งเข้าไปแล้ว เห็นได้ชัดว่า บริการเวิร์ลไวด์เวบ กำลังเติบโตในอัตราเร่งสูงสุด ถ้าจะให้จัดลำดับ บริการเวิร์ลไวด์เวบ มีผู้ใช้บริการมากรองเป็นอันดับสอง จากบริการอีเมล์เท่านั้นเอง จะไม่ให้มีผู้ใช้งาน และให้บริการมากมายขนาดนี้ได้อย่างไร ก็เพราะ บริการทั้งข้อมูลข่าวสาร ที่แต่เดิม ทำกันบนแม่ข่าย Telnet (ผ่านทางเมนู Gopher) และบริการไฟล์ที่ทำกันบนแม่ข่าย FTP ล้วนแล้วแต่สามารถให้บริการบนเวิร์ลไวด์เวบ ในรูปแบบที่สวยงาม และเข้าใจง่ายกว่ากันมาก แถมบริการเวิร์ลไวด์เวบ ยังพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ จนกระทั่งสามารถ สื่อสารกันด้วยมัลติมิเดีย และแม้แต่วิดิโอเต็มจอภาพได้ในอนาคต และที่สำคัญ เครื่องพีซีที่เชื่อมเข้าระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ต กลายเป็นหน่วยหนึ่ง ของเครือข่ายในทันที ไม่ใช่เครื่องรีโมท ที่ขอเข้าไปใช้งานหน้าจอเครื่องลูก นเครือข่ายยูนิกซ์เหมือนอย่างแต่ก่อน ซึ่งนั่นก็คือ เครื่องพีซีที่ใช้บริการเวิร์ลไวด์เวบนั้น สามารถติดต่อกับเครื่องแม่ข่ายทั่วโลกได้โดยตรง ด้วยศักยภาพเครื่องของตนเอง และด้วยโปรแกรมที่เรียกใช้งาน ตามที่ตนชอบและถนัด ไม่ต้องพึ่งพา อาศัยโปรแกรม ในเครือข่ายยูนิกซ์อีกเลย เวบ (Web) ก่อกำหนดขึ้นครั้งแรก ในปี คศ. 1990 ที่ CERN European Particle Physics Laboratory ในสวิตเซอร์แลนด์ ในปัจจุบัน มีองค์กรอิสระที่ชื่อว่า World Wide Web Consortium (W3C) คอยกำกับดูแลการเติบโตของเวบ Web Consortium ได้บัญญัติมาตรฐานขึ้นชุดหนึ่ง สำหรับการเพิ่มแม่ข่ายให้กับเวบ และเพื่อการสร้างหน้าจอของข่าวสาร ที่ปรากฏแก่สายตา ของผู้เข้าชมเวบ หน้าจอเหล่านี้เรียกว่า หน้าเอกสารหรือเพจ ถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาที่มีรูปแบบเฉพาะ คือ HyperText Markup Language (HTML) โปรแกรมอ่านเวบเพจความจริงก็คือ โปรแกรมที่แปลผลรูปแบบของเอกสาร HTML และแปลผลคำสั่งที่บรรจุอยู่ ทั้งโปรแกรมอ่านเวบ และแม่ข่ายสื่อสารกัน ผ่านมาตรฐานอีกตัวหนึ่งคือ HyperText Transfer Protocol (HTTP) ซึ่งprotocol นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของ TCP/IP เช่นกันWeb Consortium ได้ตีพิมพ์คุณลักษณะของ HTML และ HTTP ทำให้ทุกๆ คนบนอินเตอร์เน็ต สามารถสร้างเอกสารเวบได้อย่างสะดวกง่ายดาย การสร้างสิ่งพิมพ์เวบใหม่ที่ง่าย และเป็นแบบเปิดน ี้ ทำให้มีแหล่งข่าวสารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทุกวันนี้ เอกสารเวบจำนวนมหาศาล และการเชื่อมโยงไปยังเครือ ข่ายมากมาย ถูกสร้างขึ้นจากสังคมอินเตอร์เน็ต ไม่ใช่จากองค์การควบคุม Web แต่อย่างใด

ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต


ตามที่กล่าวมาแล้วว่า อินเตอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ครอบคลุม ไปทั่วโลก พร้อมกับมีข้อมูลมหาศาล ทุกประเภท ให้เราค้นคว้า และรับส่งข้อมูล ไปมาระหว่างกันได้ ในตอนนี้ จะขอยกตัวอย่างประโยชน์ ของการใช้งานอินเตอร์เน็ต ด้านต่าง ๆ ให้เห็นพอสังเขป 

ในด้านการศึกษา เราต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตเพื่อค้นคว้าหาข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลทางวิชาการจากที่ต่าง ๆ ซึ่งในกรณีนี้ อินเตอร์เน็ต จะทำหน้าที่เหมือนห้องสมุด ขนาดยักษ์ ส่งข้อมูลที่เราต้องการ มาให้ถึงบนจอคอมพิวเตอร์ที่บ้านหรือที่ทำงานของเรา ไม่กี่วินาทีจากแหล่งข้อมูลทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม ศิลปกรรม สังคมศาสตร์ กฎหมายและอื่นๆ 

อีกส่วนที่เกี่ยวข้องกันก็คือ ประโยชน์การรับส่งข่าวสาร ผู้ใช้ที่ต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต สามารถรับส่งจดหมายอิเล็กตรอนิกส์ หรือ E-mail กับผู้ใช้คนอื่นๆ ทั่วโลก ในเวลาอันรวดเร็ว ได้โดยค่าใช้จ่ายต่ำมาก นอกจากนี้ ยังอาจส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แฟ้มข้อมูล รูปภาพ ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ที่เป็นภาพและเสียง ได้อีกด้วย 

สำหรับด้านธุรกิจและการค้า ช่วยในการซื้อขายสินค้าผ่านคอมพิวเตอร์ เราสามารถเลือกดูสินค้า พร้อมคุณสมบัติผ่านจอคอมพิวเตอร์ของเรา และสั่งซื้อ และจ่ายเงินด้วย บัตรเครดิตได้ทันที ซึ่งนับว่าเป็นความสะดวกสบาย และรวดเร็วมาก สินค้ามีจำหน่าย ทุกประเภท เหมือนห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ เลยทีเดียว 

นอกจากนี้ ผู้ใช้ ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ หรือ สนับสนุน ลูกค้าของตน ผ่านอินเตอร์เน็ต เช่น การตอบคำถาม หรือข้อสงสัยต่าง ๆ ให้คำแนะนำ รวมถึงข่าวสารใหม่ๆแก่ลูกค้าได้ 

ประโยชน์อินเตอร์เน็ต ที่ผู้ใช้กันมากที่สุดอีกอย่างหนึ่ง คือ ความบันเทิง และการ พักผ่อนหย่อนใจ หรือสันทนาการ เช่น เลือกอ่านวารสารต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต ที่เรียกว่า magazine แบบ online รวมถึงหนังสือพิมพ์ และข่าวสารอื่น ๆ โดยมีภาพประกอบบนจอคอมพิวเตอร์ เหมือนกับหนังสือ ปกติที่เราดูอยู่กันทุกวัน 

ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่นๆ ดังนี้ 




ด้านการศึกษา 
- สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ 
- ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ 
- นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น ด้านการศึกษา 
- สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ 
- ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ 
- นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น

ด้านธุรกิจและการพาณิชย์ 
- ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ 
- สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 
- ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น 
ด้านธุรกิจและการพาณิชย์ 
- ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ 
- สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 
- ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น 



ด้านการบันเทิง 
- การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine o­nline รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป 
- สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ 
- สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้ 



สรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ต มีความสำคัญ ในรูปแบบ ดังนี้ 

1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail=E-mail) เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้ 
2. เทลเน็ต (Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้ 
3. การโอนถ่ายข้อมูล (File Transfer Protocol ) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง 
4. การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้ 
5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Usenet) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน 
6. การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม 
7. การซื้อขายสินค้าและบริการ (E-Commerce = Electronic Commerce) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต 
8. การให้ความบันเทิง (Entertain) บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง 

โดยสรุปอินเทอร์เน็ต ได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจ และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กร

ที่มา





โทษของอินเตอร์เน็ต  1.โรคติดอินเทอเน็ต(Webaholic)
อินเตอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ?
หากการเล่นอินเตอร์เน็ต ทำให้คุณเสียงาน หรือแม้แต่ทำลาย นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างมากเป็นจำนวน 496 คน โดยเปรียบเทียบ กับบรรทัดฐาน ซึ่งใช้ในการจัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับ การติดอินเตอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด) คำว่า อินเตอร์เน็ต ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ หมายรวมถึง ตัวอินเตอร์เน็ตเอง ระบบออนไลน์ (อย่างเช่น AmericaOn-line, Compuserve, Prodigy) หรือระบบ BBS (Bulletin Board Systems) และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้ระบุว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเตอร์เน็ต
 • รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
 • มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
 • ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
 • รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
 • ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
 • หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
 • การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
 • มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
 • ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้
สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ที่ไม่เข้าข่ายข้างต้นเกิน 3 ข้อในช่วงเวลา 1 ปี ถือว่ายังเป็นปกติ จากการศึกษาวิจัย ผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างหนัก 496 คน มี 396 คนซึ่งประกอบไปด้วย เพศชาย 157 คน และเพศหญิง 239 คน เป็นผู้ที่เรียกได้ว่า "ติดอินเตอร์เน็ต" ในขณะที่อีก 100 คนยังนับเป็นปกติ ประกอบด้วยเพศชาย และเพศหญิง 46 และ 54 คนตามลำดับ สำหรับผู้ที่จัดว่า "ติดอินเตอร์เน็ต" นั้นได้แสดงลักษณะอาการของการติด (คล้ายกับการติดการพนัน) และการใช้อินเตอร์เน็ต อย่างหนักเหมือนกับ การเล่นการพนัน ความผิดปกติในการกินอาหาร หรือสุราเรื้อรัง มีผล กระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ
2.เรื่องอณาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)
เรื่องของข้อมูลต่างๆที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆนั้นเป็น เรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอเน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนา มากนักทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภายเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอเน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอเน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สือ่เหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้
3.ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเตอร์เน็ต และระเบิดเวลา
ไวรัส : เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำลายข้อมูล หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ
ม้าโทรจัน : ม้าโทรจันเป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึดเมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้ก็ทำงานคล้ายๆกัน คือโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์ มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาต มันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ และสิ่งที่มันทำนั้น ไม่มีความจำเป็นต่อเราด้วย
หนอนอินเตอร์เน็ต : ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือโปรแกรมที่จะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่ง ครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง
ระเบิดเวลา : คือรหัสซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นรูปแบบเฉพาะของการโจมตีนั้นๆ ทำงานเมื่อสภาพการโจมตีนั้นๆมาถึง ยกตัวอย่างเช่น ระเบิดเวลาจะทำลายไฟล์ทั้งหมดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542
Internet
     
จุดเริ่มต้นของ Internet นั้นมาจากปี พ.ศ. 2500 หน่วยงาน ARPA (Advanced Research Projects Agency) ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกามีความคิดที่จะหาทางป้องกันระบบเครือข่ายข้อมูล ที่อาจจะถูกโจมตีจากสหภาพโซเวียตโดยหากถูกโจมตี หรือได้รับความเสียหายระบบเครือข่ายข้อมูล จะต้องสามารถทำงานได้อย่างปกติ
     
จากแนวความคิดนี้ทำให้ต้องกระจายศูนย์ข้อมูลของระบบเครือข่ายให้มีอยู่หลายๆ ที่ และจำเป็นต้องออกแบบเครือข่ายใหม่ทั้งหมดให้พร้อมที่จะรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละจุดโดยที่เหลือจะยังคงสามารถทำงานเป็นศูนย์ข้อมูลได้ปกติ จากการดำเนินการดังกล่าวจึงเป็นพื้นฐานในการพัฒนาโครงข่ายที่เรียกว่า Internet
World Wide Web
เมื่อ Internet ถูกนำมาใช้และพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ ในปี พ.ศ. 2532 นายทิม เบอร์เนอร์สลี (Tim Berners-Lee) เสนอแนวความคิดที่จะนำเอา Internet มาใช้เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างนักวิชาการจากทุกที่ทั่วโลก จากแนวความคิดนี้ทำให้มีการพัฒนา Internet จนเกิดสิ่งที่เรียกว่า World Wide Web (WWW) ที่หมายถึงโลกเครือข่ายข้อมูล ที่มีลักษณะคล้ายใยแมงมุม ซึ่งมีจุดเชื่อมต่อได้ไม่จำกัด และทำให้เกิดแหล่งข้อมูลเป็นจำนวนไม่จำกัดด้วย 
ใน WWW จะมีการใช้ Protocol HTTP, ภาษา HTML, URL และ CGI โดยมีหน้าที่ที่ควรรู้ดังนี้
·  HTTP (Hypertext Transfer Protocol) : เป็น Protocol สำคัญที่ใช้สำหรับรับส่งไฟล์เอกสาร (Document File)
·  HTML (Hypertext Markup Language) : เป็นภาษาคอมพิวเตอร์มาตรฐานที่ถูกพัฒนาและใช้กันทั่วโลกสำหรับสร้าง Home Page
·  URL (Uniform Resource Locator) : เป็นเลขทะเบียนที่ใช้อ้างอิงตำแหน่งของ Internet Server หรือ Home Page โดยแต่ละ Internet Server แต่ละ Web Page จะมี URL ที่ต่างกัน
·  CGI (Common Gateway Interface) เป็น Software อยู่ใน Internet Server ซึ่ง Software เหล่านี้มีหน้าที่เช่น ตอบสนองผู้ใช้ (User) , ทำการนับจำนวนผู้เยี่ยมชม , ส่งข้อความสู่ Pager เป็นต้น
Hypertext , Hypermedia
Hypertext คือไฟล์เอกสารแบบหนึ่งใน Internet ซึ่งอาจเรียกไฟล์เอกสารนี้ว่า Hypertext Document โดยจะมีลักษณะที่แตกต่างจากไฟล์เอกสารอื่นๆ คือ เป็นไฟล์ที่ได้จากการนำ Text file มาใส่คำสั่งที่เรียกว่าแท็ก (Tag) ลงไป ทำให้ Text file เหล่านี้สามารถนำไปแสดงผลเป็น Web Page ใน Web Browser ได้ นอกจากนี้ยังสามารถใส่คำสั่งที่เกี่ยวกับรูปภาพ (Image) หรือใส่คำสั่งที่ใช้เชื่อมโยงกับ Hypertext Document อื่นๆ ได้โดยอาศัยการอ้างอิงตำแหน่งจาก URL 
Hypermedia คือไฟล์เอกสาร Hypertext (Hypertext Document) ที่ได้รวมเอาเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว วีดีโอ การรันโปรแกรม เอาไว้ด้วยกัน ซึ่งโฮมเพจส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้จะเป็นแบบ Hypermedia Document
HTML
     HTML (Hypertext Markup Language)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำให้ Text File เป็น Hypertext Document หรือ Hypermedia Document และสามารถนำไปแสดงผลเป็น Web Page ใน Web Browser ได้ ทั้งนี้ในภาษา HTML จะมีคำสั่งที่เรียกว่า แท็ก (Tag) เพื่อใช้ในการเตรียมข้อความ, ภาพ, เสียง ฯลฯ ที่จะไปปรากฎใน Web Browser โดย ข้อความ, ภาพ, เสียง ฯลฯ จะมีหน้าตาอย่างไรนั้น จะขึ้นกับการประมวลผลของ Web Browser ซึ่งอาจแตกต่างกันบ้างในแต่ละ Web Browser
     
รูปแบบของการเขียนคำสั่ง HTML (Tag) มีลักษณะ < Tag Name > ...ข้อความหรือรูปภาพ... </ Tag Name > เช่น หากเขียนแท็กดังนี้ <B>สวัสดี</B> จะเป็นการแสดงข้อความตัวเข้มว่า "สวัสดี"
     
ภาษา HTML ได้ถูกนำมาใช้ในการสร้าง Web Page ซึ่งมีการพัฒนาโดยกำหนดเป็นมาตรฐานตั้งแต่ version 1.0 ประมาณ 10 ปีที่แล้ว และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในระหว่างที่พัฒนามาตรฐานของ HTML มีบริษัทต่างๆ ทำการสร้างแท็กของตัวเองเพิ่มเติมขึ้นมา เช่น บริษัท Netscape ก็เพิ่มเติมชุดของคำสั่ง HTML ที่เรียกว่า Netscape Extension และ Microsoft ก็เพิ่มเติมชุดคำสั่งสำหรับ Internet Explorer ขึ้นเช่นกัน จากการพัฒนาของแต่ละบริษัทนี้เองทำให้เมื่อเขียนแท็กแล้วอาจจะไม่สามารถทำงานได้กับทุก Web Browser แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้มาตรฐาน HTML ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาถึง Version 4.0 แล้ว ทำให้แท็กซึ่งเป็นคำสั่ง HTML มาตรฐานมีเพิ่มขึ้นและใช้งานได้สะดวกเป็นอย่างมาก
URL
     
ในการทำ Link เพื่อเชื่อมโยง Web Page เข้าด้วยกันนั้นจะต้องใช้ URL (Uniform Resource Locator) เป็นเลขทะเบียนอ้างอิงตำแหน่ง (address) โดยในแต่ละ Web Page จะต้องมี URL เพื่อใช้อ้างอิงตำแหน่งที่เป็นของตนเองและไม่ซ้ำกัน
URL มีลักษณะเช่น
http://www.domain_name.com/path/index.html
  • "http" : เป็นส่วนที่ใช้ระบุประเภท Protocol ซึ่งในที่นี้กำหนด Protocol คือ HTTP และนอกจาก protocol http สำหรับ www แล้วยังมี ftp , gophers , wais , telnet , news เป็นต้น
  • www.domain_name : ในส่วนนี้แท้จริงเป็นตัวเลข 4 ชุดที่ใช้ระบุตำแหน่งของ Internet Server และเรียกชุดของตัวเลขนี้ว่า IP Address เช่น 163.12.135.7 แต่ทั้งนี้ในการเขียน URL ปกติจะไม่เขียนเลขชุดเหล่านี้เนื่องจากจำยากจึงมีการนำเอาข้อความมาแทน เช่น www.myweb.com แต่ในการใช้งานจริงคุณสามารถใช้งานได้ทั้ง IP Address ที่เป็นตัวเลข หรือใช้ข้อความแทน
  • path : เป็นเส้นทางของสิ่งที่คุณต้องการเช่นเส้นทางที่อยู่ของ Web Page ใน Internet Server
  • index.html : เป็นส่วนของสิ่งที่คุณต้องการเช่นต้องการเข้าหน้าแรกของ home page ก็ระบุเป็น index.html ทั้งนี้ใน web ส่วนใหญ่จะใช้ index.html เป็นหน้าแรกและทำให้ในบางครั้งไม่จำเป็นต้องใส่คำว่า index.html ลงใน URL
เกี่ยวกับ domain name ที่ใช้เป็นข้อความนั้นได้มีการวางแบบแผนของข้อความ คือจะมี ชื่อ site ,องค์กร , ประเทศ เช่น myweb.com.th จะเป็นการบอกว่า Home Page นี้ชื่อ "myweb" เป็นองค์กรประเภท com (commmercial - การค้า) และเป็นของประเทศ th (thailand)
สำหรับประเภทขององค์กรใน URL ที่ได้จัดไว้เช่น
  • edu : education สำหรับองค์กรการศึกษา
  • gov : government สำหรับหน่วยงานของรัฐ
  • mil : military สำหรับองค์กรทางทหาร
  • net : network สำหรับระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อเข้า internet
  • com : commercial สำหรับบริษัท หรือองค์กรทางการค้า
  • org : non-profit organization สำหรับองค์กรที่ไม่หาผลประโยชน์ หรือองค์กรการกุศล
Web Site , Home Page และ Web Page


     ในเครือข่ายของ Internet จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารที่เรียกว่า Internet Server หรือเรียกว่า Host ซึ่งมีจำนวนอยู่มากมายกระจายอยู่ทั่วโลก และ Internet Server นี้จะมีพื้นที่เก็บข้อมูลต่างๆ มากมายรวมทั้งเก็บ Hypertext Document ที่เป็น Web Page ซึ่งมักจะมีการเชื่อมโยงเป็นกลุ่มๆ โดยหน้าแรกของ Web Page ที่ผู้ใช้ (User) สามารถเข้าถึงได้จะเรียก Web Page นั้นว่า Home Page แต่ทั้งนี้ในบางครั้งคำว่า Home Page ในบางครั้งอาจหมายกลุ่มของ Web Page ทั้งกลุ่มก็ได้
     เนื่องจาก Internet Server เป็นที่เก็บของ Web Page ดังนั้นจึงอาจเรียก Internet Server นี้ว่า Web Site โดยในแต่ละ Inernet Server สามารถมีได้หลาย Web Site










เราจะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร

อุปกรณ์


คอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ ควรจะใช้เครื่องระดับ 486X ขึ้นไป แรม 16 เมกะไบท์ขึ้นไป โมเด็ม สามารถแยกได้เป็น 3 ชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปดังนี้ โมเด็มแบบติดตั้งภายใน โมเด็มชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์นำมาติดตั้งเข้ากับาภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรงรูปร่างจะแตกต่างกันตามที่ผู้ผลิตจะออกแบบมาสำหรับ คอมพิวเตอร์ชนิดนั้น ๆ โมเด็มชนิดนี้จะใช้ไฟฟ้าจากพาวเวอร์ซับพลายที่มันต่ออยู่ ทำให้เราไม่ต้องต่อไฟหม้อแปลงต่างหากจากภายนอก ส่วนมากโมเด็มติดตั้งภายในจะทำการติดตั้งผ่านทาง Port อนุกรม RS-232C รวมอยู่ด้วย ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่อง Port อนุกรมรุ่นเก่าที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์การเชื่อมต่อโมเด็มกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะต่อทาง slot มาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์และเมื่อติดตั้งแล้วจะไม่เปลืองเนื้อที่ภายนอกใดๆ เลย และโมเด็มสำหรับติดตั้งภายในจะมี จุดให้ผู้ใช้เสียบสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็มโดยใช้ปลั๊กโทรศัพท์ธรรมดา แบบ R-J 11 และมีลำโพงประกอบด้วย โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก จะมีลักษณะเป็นกล้องสี่เหลี่ยมแบน ๆ ภายในมีวงจรโมเด็มไฟสถานะและลำโพง เนื่องจากต่อภายนอกจึงต้องมี adapter แปลงสัญญาณก่อนและจะมีสายต่อแบบ 25 ขา DB25 เอาไว้ใช้เชื่อมต่อผ่านทาง port อนุกรม RS – 232C PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Asociation) จะเป็นโมเด็มที่มีขนาดเล็กที่สุดคือ มีขนาดเท่ากับบัตรเครดิตและหนาเพียง 5 มิลเท่านั้นซึ่งโมเด็มชนิดนี้ออกแบบมาโดยให้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคโดยเฉพาะซึ่งในปัจจุบันโมเด็มชนิดนี้จะมีความเร็วพอ ๆ กับโมเด็มที่ติดตั้งภายนอกและภายใน ในปัจจุบันนี้โมเด็มมีความเร็วสูงสุดที่ 56Kbps (Kilobyte per second) โดยจะใช้มาตรฐาน V.90 เป็นตัวกำหนด Software เช่น Netscape, Internet Explorer รหัสผ่านเข้าเครือข่ายที่จะได้จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) Domain Name System (DNS)






อีเมล

ถึงแม้วัยรุ่นในปัจจุบันหลายคนอาจจะเปลี่ยนไปใช้ SMS, Facebook, BB หรือ Whatsapp กันหมดแล้ว แต่อย่าเพิ่งมองข้ามวิธีการสื่อสารดั้งเดิมของอินเทอร์เน็ตอย่างอีเมลว่าล้าสมัยหรือตกยุค เพราะบารัค โอบามาที่ว่าทันสมัย ก็ใช้ “อีเมล” นี่ล่ะช่วยสื่อสารกับมวลชนผู้สนับสนุน
แนวทางการใช้อีเมลต่อการหาเสียงนั้นตรงไปตรงมา นักการเมืองหรือพรรคการเมืองจะเปิดโอกาสให้ผู้สนับสนุนของตัวเองลงทะเบียนอีเมลเพื่อรับข่าวสาร จากนั้นจะส่งข่าวสาร ข้อมูล ประกาศ คำเชิญชวน ไปยังผู้ที่ลงทะเบียนไว้เป็นระยะ
การใช้อีเมลเป็นการสื่อสารที่ทรงพลัง เพราะผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนต้องเช็คอีเมลเป็นประจำทุกวัน ย่อมจะพบข้อความหรือประกาศของนักการเมืองคนนั้นๆ (แต่มีโอกาสสูงว่าจะไม่เข้าเว็บไซต์ของนักการเมืองทุกวันในทางกลับกัน) อัตราการรับรู้สารผ่านอีเมลย่อมสูงกว่าการสื่อสารผ่านเว็บหรือช่องทางอื่นๆ อย่างไรก็ตาม นักการเมืองควรพึงระวังเรื่อง spam หรือการส่งอีเมลจำนวนมากจนรบกวน ซึ่งอาจทำให้คะแนนตีกลับได้
ทีมงานหาเสียงของโอบามา ใช้วิธีตั้งโต๊ะรับลงทะเบียนผู้บริจาคเงินสนับสนุน พร้อมขออีเมลเอาไว้ทุกครั้ง จนสุดท้ายได้อีเมลของผู้สนับสนุนกว่า 12 ล้านชื่อ ซึ่งทีมงานได้ส่งอีเมลแจ้งข่าวคราวและขอรับบริจาคเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้โอบามาสามารถระดมทุนบริจาคได้สูงเป็นประวัติการณ์ (อ่านรายละเอียดในบทความ ย้อนความสำเร็จ ถอดบทเรียน วิธีหาเสียงออนไลน์ของบารัค โอบามา)
ในประเทศไทยเอง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในสมัยเป็นฝ่ายค้านก็ใช้อีเมลสื่อสารกับแฟนคลับที่ส่งคำถามเข้ามาทางเว็บไซต์ abhisit.org ด้วย แต่นายอภิสิทธิ์ใช้อีเมลแบบ 1 ต่อ 1 ส่งถึงแฟนคลับแต่ละคนโดยตรง ในขณะที่โอบามาใช้การส่งอีเมลทีเดียวมากๆ ในวงกว้าง

เว็บไซต์

การที่องค์กรมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง กลายเป็นเรื่องมาตรฐานของภาคธุรกิจไปแล้ว ในภาคการเมืองเองก็กลายเป็นเรื่องบังคับที่นักการเมืองและพรรคการเมืองทุกแห่งจะต้องมีเว็บไซต์ ทำหน้าที่เป็น “หน้าบ้าน” ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลและองค์กรของตัวเอง
แต่เว็บไซต์ทางการเมืองมักเป็นเว็บไซต์องค์กรที่อยู่นิ่งๆ ไม่มีความเคลื่อนไหวมากนัก (static) เปรียบเสมือน “โบรชัวร์” เพื่อให้ข้อมูลที่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์มากกว่า ดังนั้นการใช้เว็บไซต์ทางการเมืองที่เหมาะสม จึงต้องวางเป็นจุดหมายปลายทางให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตคลิกเข้ามาอ่านผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น โพสต์ข้อมูลสำคัญบนเว็บไซต์ แล้วกระจายต่อผ่านอีเมลหรือโซเชียลเน็ตเวิร์คอีกทางหนึ่ง




ปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า อินเทอร์เน็ตมีบทบาทอย่างสูงต่อวิถีชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ซึ่งเกือบทุกคนมีคอมพิวเตอร์ส่วนตัวใช้, ค้นหาข้อมูลผ่านเว็บ, สื่อสารผ่านอีเมลและโซเชียลเน็ตเวิร์ค, เปลี่ยนพฤติกรรมจากการรอดูรายการทีวี มาดูคลิปรายการย้อนหลังบน YouTube, เปลี่ยนจากการอ่านนิตยสารและหนังสือพิมพ์มาอ่านข่าวออนไลน์, และเทรนด์ล่าสุดคือการเชื่อมต่อเน็ตผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต
แนวโน้มนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนกันทั่วโลก ส่วนประเด็นว่าอินเทอร์เน็ตจะมีอิทธิพลมากน้อยแค่ไหนในแต่ละสังคม ก็ขึ้นกับอัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตของประชากรในประเทศนั้นๆ (internet penetration rate) ยิ่งประชากรเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากเท่าไร ก็จะพึ่งพาข้อมูลข่าวสารจากอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเท่านั้น

ภาพจาก Severity Design
อิทธิพลของอินเทอร์เน็ตส่งผลกระทบในทุกด้านไม่เว้นแต่เรื่อง “การเมือง” เหตุเพราะผู้มีสิทธิเลือกตั้งรุ่นใหม่ๆ ผูกพันกับอินเทอร์เน็ตอย่างแนบชิด นักการเมืองจึงไม่สามารถปฏิเสธหรือเพิกเฉยคนกลุ่มนี้ได้อีกต่อไป และนักการเมืองที่จับกระแสของยุคสมัยได้ก่อน สามารถนำอินเทอร์เน็ตมาช่วยผลักดันการดำเนินงานทางการเมืองของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมจะประสบผลสำเร็จทางการเมืองได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างที่ชัดเจนของนักการเมืองที่มากับกระแสอินเทอร์เน็ตจนได้ดีก็คือ บารัค โอบามา ประธานาธิบดีของสหรัฐคนปัจจุบัน (อ่านบทความ ย้อนความสำเร็จ ถอดบทเรียน วิธีหาเสียงออนไลน์ของบารัค โอบามา ประกอบ)
เนื่องในโอกาสเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 กรกฎาคม 2554 ซึ่งเหล่าพรรคการเมืองต่างๆ ได้นำเครื่องมือจากโลกออนไลน์มาช่วยหาเสียงกันอย่างกว้างขวาง SIU จึงขอแนะนำรูปแบบของเครื่องมือ บริการ เครือข่าย ที่ใช้กันแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต ว่าสามารถนำมาใช้กับการหาเสียงเลือกตั้ง (ไม่ได้หมายถึงการเมืองในภาพรวม) ได้อย่างไร